วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555


เศรษฐกิจกล้วยไม้ในปัจจุบัน

จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สดใสนัก ประกอบกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นระลอกส่งผลกระทบกับสินค้าเกษตรส่งออกของไทย รวมทั้งกล้วยไม้สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยซึ่งมีตลาดส่งออกรายใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็ได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน[1] คุณสุวิทชัย แสงเทียน ประธานคลัสเตอร์กล้วยไม้กลุ่มจังหวัดราชบุรี ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์กล้วยไม้ว่า ขณะนี้ปริมาณการส่งออกกล้วยไม้ของไทยตัวเลขเพิ่มขึ้นทุกปี แต่พบว่ามูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี 2549 กลับลดลงเรื่อยๆ หมายความว่าเราขายของมากขึ้นแต่ได้เงินน้อยลงทำให้เหนื่อยมากขึ้น สาเหตุที่ได้เงินน้อยลง เนื่องจากว่าขณะนี้เรามีลูกค้ารายใหม่ที่ทำให้ตลาดขยายตัวมากขึ้น นั่นคือ จีนและอินเดีย[2] ซึ่งปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกกล้วยไม้เป็นอันดับ 1 ของไทย และมูลค่าการส่งออกอยู่อันดับ 3 ส่วนอินเดียทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นกัน จะเห็นว่า 2 ตลาดโตขึ้นมากแต่เป็นการโตในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ ราคาที่ได้ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับตลาดกล้วยไม่คุณภาพอย่างญี่ปุ่น อเมริกาและยุโรป แต่เป็นที่น่าสนใจว่าหากเราปรับกลไกการทำตลาดของ 2 ตลาดนี้โดยหันมาทำสินค้าคุณภาพเพื่อที่จะเพิ่มราคา น่าจะเป็นช่องทางการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้นได้อีก[3] อย่างไรก็ตามจะต้องเข้าไปศึกษาถึงลักษณะความต้องการใช้กล้วยไม้และปริมาณความต้องการที่แท้จริงว่าจะทำอย่างไรต่อไป[4] ที่ผ่านมากล้วยไม้ส่งออกของเรามีมูลค่ามาก เนื่องจากเรามีตลาดญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรปซึ่งเป็นตลาดลูกค้ารายเก่า[5] แต่วันนี้เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้ง 3 ตลาดลดกำลังการซื้อลง ญี่ปุ่นก็เจอปัญหาภัยธรรมชาติซึนามิ ภายใน 2 ปีนี้อาจจะยังไม่ฟื้น อเมริกาเองเศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นดี แต่สำหรับกล้วยไม้แล้วก็ยังมีโอกาสเติบโตได้ แต่ทั้งนี้จะต้องเน้นในด้านคุณภาพมากขึ้น[6] เนื่องจากมีระยะทางไกลค่าขนส่งสูง หากนำกล้วยไม้ด้อยคุณภาพไปขายนอกจากจะไม่คุ้มแล้วยังขายได้ยากเพราะต้องขายราคาแพง[7] นอกจากนี้ตลาดภายในประเทศก็มีการขยายตัวมากขึ้น จากการศึกษาพฤติกรรมของคนในประเทศพบว่ามีปริมาณการใช้กล้วยไม้กำเตยสำหรับไหว้พระในวันโกณวันพระขายดีขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ สังเกตจากราคาของกล้วยไม้กำเตยสูงขึ้นจากขายกำละ 4-5 บาท ปัจจุบันราคา 8-15 บาท ดังนั้นจะเห็นว่ากล้วยไม้ไทยมีทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออกที่ไปได้ดี ถ้าตลาดส่งออกไม่ดีก็ยังมีตลาดในประเทศช่วยพยุงไว้ ถึงไม่ดีแต่ก็ช่วยระบายของออกได้หมดและของไม่ตกค้าง[8] จากการที่ภาครัฐออกได้ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการเกษตรที่ผลักดันนโยบายเรื่องการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้คุณภาพเพื่อการส่งออกมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ดี แต่การทำงานอาจจะต้องปรับสู่เป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น ภาพรวมของกล้วยไม้ไทยภายใน 2-3 ปีข้างหน้า แนวโน้มจะต้องดีขึ้น เพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้นรวมทั้งในญี่ปุ่น อเมริกาและยุโรป เมื่อนั้นตลาดกล้วยไม้ก็น่าจะดีขึ้นตาม[9] อย่างไรก็ตามกล้วยไม้เป็นพืชที่มีรอบอายุประมาณ 4 ปี ซึ่งถ้าชาวสวนที่คิดจะมาปลูกกล้วยไม้ในช่วงนั้นก็คงไม่ทันแล้ว ดังนั้นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้ชาวสวนที่มีทุนมีสายป่านยาวก็คงต้องปลูกอยู่และเลี้ยงดูแลไว้ให้ดีมีคุณภาพที่สุด จะเห็นได้ว่าเวลานี้ภาพรวมดอกกล้วยไม้ของไทยยังคงไปได้และไม่กระทบมาก แต่ที่ได้รับผลกระทบชัดเจนคือวัสดุปลูก (กาบมะพร้าว) ขาดแคลน และราคาแพง สวนที่มีต้นโทรมหมดอายุก็ยังต้องเลี้ยงไว้ สวนใหม่ๆ ที่จะขยายก็แทบจะไม่มีเพราะหาวัสดุปลูกไม่ได้หรือได้ก็มีราคาสูง ดังนั้นในภาพรวมจึงอาจจะส่งผลกระทบถึงปีหน้าในด้านการขยายพื้นที่ปลูกกล้วยไม้คงไม่มากนัก[10] เป็นที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มตลาดของกล้วยไม้ต้น กระไม้กระถาง (pot plant) เมื่อ 5 ปีที่แล้วเรามีการขยายการผลิตเยอะมาก ปัจจุบันการผลิตมีแนวโน้มลดลง โดยดูได้จากปริมาณการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในขวดเพื่อผลิตกล้วยไม้กระถางลดลง และพบว่าราคาที่ขายในประเทศลดลง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาปริมาณการผลิตเยอะมากทั้งกล้วยไม้สกุลแวนด้าและหวาย อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจไม่ดีด้วย แต่สำหรับกลุ่มการใช้งานดอกกล้วยไม้เพื่อการตกแต่ง จัดสถานที่ถือว่าดีมาก เพราะได้ใช้กล้วยไม้ในราคาที่ถูกลง[11] หากสภาพเศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ เชื่อว่าการลงทุนทำสวนกล้วยไม้รายใหม่ๆ ในช่วง 2 ปีนี้น่าจะขยายตัวได้ไม่มาก นอกจากชาวสวนมือใหม่ที่อยากจะทำเป็นงานอดิเรก เนื่องจากว่าราคากล้วยไม้ไม่จูงใจมากนัก นอกจากว่าจะมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ หรือเป็นเครือญาติที่ทำกล้วยไม้อยู่แล้วถึงจะกล้ากระโดดเข้ามาลงทุนทำ สำหรับชาวสวนมือชีพรายเดิมๆ การที่จะมาขยายการลงทุนตอกเสาเข็มใหม่ก็ไม่น่าจะมีมากเช่นกัน ยุคนี้การลงทุนทำสวนกล้วยไม้ต้องเป็นมืออาชีพจริงๆ และต้องแข่งกันด้วยการทำกล้วยไม้คุณภาพเท่านั้นถึงจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน[12] นอกจากนี้เมื่อวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับคลัสเตอร์กล้วยไม้กลุ่มจังหวัดราชบุรี จัดเสวนากล้วยไม้ประจำปี (ครั้งที่5) ขึ้น ณ ห้องเธียร์เตอร์ อาคารศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยการเสวนาครั้งนี้เป็นการสรุปความคืบหน้าเกี่ยวกับงานวิจัย รวมถึงการควบคุมคุณภาพของกล้วยไม้หวายตัดดอกเพื่อการส่งออกด้วยกรรมวิธีก่อนการเก็บเกี่ยว (preharvest) และหลังการเก็บเกี่ยว (postharvest) โดย ดร.วชิรญา อิ่มสบาย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จจากผลงานวิจัยการนำสาร 1-MCP ในการช่วยดูดซับ ethylene เพื่อช่วยลดปัญหาดอกร่วงและยึดอายุการขนส่งดอกกล้วยไม้ ทำให้สามารถขนส่งกล้วยไม้ไปตลาดจีนโดยทางรถยนต์ได้ เป็นประโยชน์มากกับผู้ส่งออกเพราะสามารถลดต้นทุนค่าขนส่งได้มาก[13] ซึ่งอุตสาหกรรมกล้วยไม้ของประเทศได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก และทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอับดับหนึ่งในจำนวนไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมดที่มีการส่งออก[14] ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่นิยมรักสวยรักงามมากขึ้น ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่นิยมทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ เนื่องจากว่ามีอายุการประดับโชว์ความสวยงามได้นานกว่าดอกไม้อื่นๆ และมีสีดอกสดใสและสีหลากหลายทำให้การขยายของตลาดภายในและตลาดส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นการศึกษาการผลิตและการตลาดกล้วยไม้ จึงมีความจำเป็นเพื่อให้ทราบข้อมูลทั้งการผลิตและการตลาด และปัญหาต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหากล้วยไม้ต่อไปในอนาคต[15]

 

 



[1] ศุภฤกษ์ ธนชัยสิทธิ (2553). ภาวะเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[2] สถานการณ์กล้วยไม้. (2555,23,มกราคม). มติชน. จาก http://www.matichon.com/index.php?option=com_content&view=article&id=125572:2012&Itemid=423
[3] ตลาดส่งออก. (2555,17,พฤษาคม). ข่าวสดรายวัน. จาก http://www.khaosod.com/index.php?option=com_content&view=article&id=125572
[4] กมลวรรณ เตชะวณิช. (2553). ลักษณะและความต้องการกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
[5] มูลค่าของกล้วยไม้. (2555,19,กุมภาพันธ์). เดลินิวส์. จาก http://www.dailynews.com/index.php?option=com_gskdgisayrs
[6] เศรษฐกิจทรุด. (2554,7,มิถุนายน). ฐานเศรษฐกิจ. จาก http://www.thanonline.com/index.php? content&view=article&id1794cxgsd
[7] ฐานวัฒน์ ฐิติรุ่งเรืองกุล. (2551). การขนส่งกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์.
[8] รัตนมณี อารักษ์วงศ์. (2542). การขยายตัวของกล้วยไม้สด. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[9] ศุภาวรรณ แก้วพิกุล. (2550). ยุธศาสตร์สู่เป้าหมายที่ชัดเจน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[10] ภาศกรณ์ กาญจนพิทักษ์. (2551). การดูแลกล้วยไม้ไทย. กรุงเทพฯ: วิบูรณ์กิจ.
[11] กมลทิพย์ เตชะไพศาล. (2552). แนวโน้มการเพาะเลี้ยง. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์.
[12] การลงทุนขยายตัว. (2555,2,มีนายน). ฐานเศรษฐกิจ. จาก http://www.thanonline.com/?option24763582content&view=article&id
[13] สัมนากล้วยไม้. (2555,28,มิถุนายน). ข่าวสดรายวัน. จาก http://www.khaosod.com/ content&view=article&id=30267210
[14] มาลีรัตน์ ทิพย์วงศ์. (2552). ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[15] พฤกษา ศีลพิทักษ์. (2552). ความนิยมในกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.